วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น

1. ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
            สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ  ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่างๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอโดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลายจะเห็นว่า ความหมายขอทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น

ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ  หมายถึง  สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรามีมากมายหลายชนิด เช่น พืช สัตว ดิน หิน น้ำ  แร่ธาตุสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ได้               
           
 ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
                1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทไม่หมดสิ้น  เป็นทรัพยากรที่สามารถใช้ประโยชน์ ได้อย่างไม่มีวันหมด ได้แก่  อากาศ  น้ำ  แสงแดด


แสงแดด

             2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทหมุนเวียน(ทดแทน)เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วอาจเกิดขึ้นใหม่ทดแทนได้ซึ่งอาจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับชนิดของทรัพยากร ได้แก่ ป่าไม้สัตว์ป่า

ป่าไม้


3.ทรัพยากรธรรมชาติประเภทสิ้นเปลืองใช้แล้วหมดไปเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ นำมาใช้แล้วจะหมดไปจากโลกนี้ หรือสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ แต่ต้องใช้เวลายาวนานมากได้แก่  น้ำมันปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ  แร่ธาตุต่างๆ  และถ่านหิน     
แก๊สธรรมชาติ                






แรงและการเคลื่อนที่

2. แรงและการเคลื่อนที่

                วัตถุหรือสิ่งต่างๆ สามารถเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือหยุดนิ่งได้ เมื่อมีพลังงานรูปหนึ่งซึ่งเรียกว่า "แรง" มากระทำกับวัตถุนั้น
แรงที่รู้จัดกันในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
    แรงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น แรงลม แรงน้ำ แรงโน้มถ่วง เป็นต้น
    แรงที่เกิดจากกล้ามเนื้อ คือ แรงที่เกิดจาการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจเป็นแรงจากกล้ามเนื้อของเรา เช่น การยกของ ขว้างก้อนหิน แรงดึง แรงผลัก เป็นต้น
    แรงที่ได้จากเครื่องจักรกล เป็นแรงที่เกิดจากมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น แรงจากเครื่องกล ได้แก่ รถยนต์ เรือ รวมไปถึงแรงที่เกิดจากเครื่องผ่อนแรงทั้งหลาย เช่น ลูกรอก เป็นต้น

แรงโน้มถ่วงของโลก
                วัตถุต่างๆ ที่ปล่อยจากที่สูง จะตกลงสู่ผิวโลกเสมอ เพราะโลกและวัตถุต่างๆ นั้น จะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเรียกแรงจึงดูดที่โลกดึงดูดวัตถุนี้ว่า แรงโน้มถ่วงของโลก เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วงจากการสังเกตการหล่นของลูกแอปเปิล จากการสังเกตถึงผลแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุต่างๆ ในโลกแล้วอธิบายว่า "วัตถุทุกอย่างจะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน เหมือนกับแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุทุกอย่างในโลก" กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน เป็นผู้ค้นพบว่า แรงโน้มถ่วงดึงดูดวัตถุด้วยความเร่งเดียวกันและทำให้วัตถุตกลงมาด้วยความเร่งคงที่ แม้ว่าวัตถุจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน นั่นคือ วัตถุใดๆ เมื่อปล่อยจากที่สูงเท่ากัน จะตกลงสู่พื้นผิวโลกพร้อมกันแรงดึงดูดของโลกหรือ แรงโน้มถ่วงของโลก (gravity) ทำให้วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่อยู่บนโลกมีน้ำหนัก ดังนั้น เมื่อเรายกสิ่งของต่างๆ จะรู้สึกว่าสิ่งของเหล่านั้นมีน้ำหนัก เราต้องออกแรงยกขึ้นซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งของเหล่านั้นมีน้ำหนักมากหรือน้อย ทั้งนี้เพราะ มีแรงดึงดูดระหว่างโลกกับสิ่งของเหล่านั้นแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุต่างๆ จะมีขนาดเท่ากันไม่ว่าวัตถุนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม แต่สาเหตุที่ทำให้วัตถุต่างๆ มีน้ำหนักไม่เท่ากันทั้งๆ ที่ถูกแรงดึงดูดเท่าๆ กัน ก็เพราะว่าวัตถุต่างๆ มีมวลต่างกันนั่นเองดังนั้น น้องๆ จะเห็นว่า การเคลื่อนย้ายหรือยกสิ่งของ เช่น โต๊ะขนาดใหญ่ หรือตู้เย็น จะต้องออกแรงมาก ตรงกันข้ามกับดินสอ กระเป๋านักเรียน ใช้แรงน้อยมากในการเคลื่อนย้ายหรือยก เพราะ มีมวลน้อย จึงมีน้ำหนักน้อยกว่า มวลและน้ำหนักจึงมีความหมายแตกต่างกัน

สสารและการจำแนก

3. สาร และ สมบัติของสาร           

สสาร ( Matter ) หมายถึงสิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ และ สามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ภายใน สสารเป็นเนื้อของสสาร เรียกว่า สาร ( Substance )
           สาร ( Substance ) คือ สสารที่ทราบสมบัติ หรือ สสารที่จะศึกษา ดังนั้นจึงเป็นสสารที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีสมบัติของสาร  2 ประเภท คือ
     - สมบัติกายภาพ ( Physical Property ) หมายถึง สมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอก และ เกี่ยวกับวิธีการทางฟิสิกส์ เช่น ความหนาแน่น , จุดเดือด , จุดหลอมเหลว     - สมบัติทางเคมี ( Chemistry Property ) หมายถึง สมบัติที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาเคมี เช่น การติดไฟ , การเป็นสนิม , ความเป็น กรด - เบส ของสาร     
การเปลี่ยนแปลงสาร           การเปลี่ยนแปลงสาร แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
     - การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ( Physical Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวกับสมบัติกายภาพ โดยไม่มีผลต่อ องค์ประกอบภายใน และ ไม่เกิดสารใหม่ เช่น การเปลี่ยนสถานะ , การละลายน้ำ
     - การเปลี่ยนแปลงทางทางเคมี ( Chemistry Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางเคมีซึ่งมีผลต่อองค์ประกอบภายใน และจะมีสมบัติต่างไปจากเดิม นั่นคือ การเกิดสารใหม่ เช่น กรดเกลือ ( HCl ) ทำปฏิกิริยากับลวด แมกนีเซียม ( Mg ) แล้วเกิดสารใหม่ คือ ก๊าซไฮโดรเจน ( H2 )


การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

     4.  ยีนและโครโมโซม

ยีน
            ยีน (gene) คือ หน่วยพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม (chromosome) มีลักษณะเรียงกันเหมือนสร้อยลูกปัด ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน ในคนจะมียีนประมาณ 50,000 ยีน แต่ละยีนจะควบคุมลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมเพียงลักษณะเดียว ยีนที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมบางอย่างมี 2 ชนิด คือ
            1. ยีนเด่น (dominant gene) คือ ยีนที่แสดงลักษณะนั้นๆ ออกมาได้ แม้มียีนนั้นเพียงยีนเดียว
            2. ยีนด้อย (recessive gene) คือ ยีนที่สามารถแสดงลักษณะให้ปรากฏออกมาได้ ก็ต่อเมื่อมียีนด้อยทั้งสองยีนอยู่บนคู่โครโมโซม
            

              

ระบบสุริยะ

5. ระบบสุริยะ

            ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึงที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ( ตอนนี้ไม่มีพลูโตแร้ว เหลือแค่ 8 ดวง ) และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) หน่วยดาราศาสตร์