สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน
ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะ
ทางพันธุกรรม
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทาง
ชีวภาพ
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และ
สิ่งแวดล้อม
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดที่
ว 1.2 ป 3/3 อธิบายลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูกว่าเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ว 1.2 ป 3/4 สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สูญพันธ์ไปแล้วและที่ดำรงพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน
มาตรฐาน
ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหา
รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น
ๆเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด
ว 8.1 ป. 1/1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
ว 8.1 ป. 1/2 วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้า
โดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
ว 8.1 ป.
1/3 เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ
และบันทึกข้อมูล
ว 8.1 ป. 1/4 จัดกลุ่มข้อมูล
เปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้และนำเสนอผล
ว 8.1 ป. 1/5 ตั้งคำถามใหม่จากผลการสำรวจตรวจสอบ
ว 8.1 ป. 1/6 แสดงความคิดเห็น และรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มนำไปสู่การสร้างความรู้
ว 8.1 ป. 1/7 บันทึกและอธิบายผลการสังเกต
สำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริง มีแผนภาพประกอบคำอธิบาย
ว 8.1 ป.
1/8 นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา
และเขียนแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
สาระสำคัญ
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีชีวิตรอดอยู่ได้และสามารถดำรงพันธุ์ต่อไปได้
จะต้องมีรูปร่าง ลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง
ไปจนไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต
สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ จะตายหรือสูญพันธุ์ไป
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.
สืบค้นข้อมูล
อภิปราย
และอธิบายเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบางชนิดดำรงพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันได้เนื่องจากมีลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปใช้
2.
สืบค้นข้อมูล
อภิปราย
และอธิบายเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่เคยมีอยู่ และสูญพันธุ์ไปแล้ว
สาระการเรียนรู้
การดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมต่าง
ๆ
ทักษะ กระบวนการ
1. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. กระบวนการกลุ่ม
3. กระบวนการคิด
4. กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
คุณลักษณะ
1. ,มีเหตุผล
2. ยอมรับผลงานผู้อื่น
3.
ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
4.
มีความสามัคคี
5.
มีความซื่อสัตย์
การจัดการเรียนรู้
1.
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการแต่งกายที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของผู้คนในที่ต่าง
ๆ ทั่วโลก รวมทั้งเหตุผล
2.
ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายรูปร่างลักษณะของสัตว์ที่เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ในแต่ละภาพ เพื่อสรุปว่า
-
ลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
ช่วยให้สัตว์มีชีวิตรอดอยู่ได้
-
ปลามีรูปร่างเรียวยาว มีครีบและหางเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ในน้ำ
-
นกมีปีกสำหรับบินในอากาศ
-
นกกินปลามีขายาว มีจงอยปากยาว
สำหรับจับปลายที่อยู่ในน้ำ
-
ยีราฟมีขาและคอยาว เพื่อกินใบไม้ที่อยู่บนต้นไม้สูง ๆ ได้
ต่อจากนั้นครูให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของการดำรงพันธุ์
ซึ่งหมายถึงการทำให้เผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตคงอยู่ได้ ไม่สูญหายไป
3.
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบว่า
รูปร่างลักษณะของสัตว์ตามหนังสือเรียนมีลักษณะที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตอย่างไรบ้าง ซึ่งสรุปได้ดังนี้
-
ลิง
มีแขนขายาว
และมีมือเพื่อการจับกิ่งไม้
-
ปู
มีก้ามทำหน้าที่ป้องกันตัวและหาอาหารส่วนขาของปูทำหน้าที่เดินและว่ายน้ำ
-
แมงมุม
มีการชักใย
เพื่อดักจับอาหารและป้องกันอันตรายจากศัตรู
-
เป็ด
มีเท้าเป็นแผนติดกัน ช่วยในการว่ายน้ำและมีจงอยปากเป็นแผ่นกว้างเพื่อใช้ในการไซ้หาอาหาร
4.
ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่านอกจากรูปร่างลักษณะของสัตว์ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตแล้ว
ยังมีพฤติกรมหรือการกระทำของสัตว์ที่แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า
เพื่อการอยู่รอด เช่น
-
ในฤดูหนาว สัตว์จำพวกนกปากห่าง นกนางแอ่น
มีการโยกย้าย ที่อยู่ไปยังสถานที่มีอากาศอบอุ่นเพื่อช่วยในการอยู่รอด
-
กุ้งมีการเดินขบวนเพื่อไปวางไข่
-
มดขนไข่เพื่อหนีน้ำ
ต่อจากนั้นให้นักเรียนไปสืบค้นข้อมูลว่าสัตว์ในท้องถิ่นมีการย้ายถิ่นที่อยู่หรือไม่ และย้ายไปเพื่อจุดประสงค์ใด ซึ่งอาจได้คำตอบ เช่น
ลิง ย้ายที่อยู่เพื่อหาแหล่อาหารใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม กวางย้ายที่อยู่เพื่อหลบหลีกอันตรายจากผู้ล่า
5.
ครูนำอภิปรายโดยตั้งคำถามว่า
พืชจะต้องมีลักษณะที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่เช่นเดียวกับสัตว์หรือไม่ แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลอง ตามขั้นตอนในหนังสือเรียน บันทึกผลลงในใบกิจกรรม 2 แผ่นที่ 1 และร่วมกันอภิปรายตามแนวคำถามในใบกิจกรรม
2 แผ่นที่ 2
จนได้ข้อสรุปดังนี้
-
ลักษณะภายนอกของผักตบชวา
มีผิวใบที่เป็นมัน โคนก้านใบพองออก
เมื่อกดลงไปในน้ำแล้วปล่อยมือผักตบชวาจะลอยขึ้นมา เมื่อผ่าโคนก้านใบ และใช้แว่นขยายส่องดูจะเห็นรูพรุน ซึ่งช่วยให้ผักตบชวาเบาและลอยน้ำได้
-
ผักกระเฉดมีลำต้นเล็กยาว มีนวมสีขาวคล้ายสำลีหุ้มอยู่ข้างนอก ช่วยพยุงให้ผักกระเฉดลอยน้ำได้
6.
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับพืชน้ำชนิดอื่นที่มีลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่เช่นบัวมีใบเป็นแผ่นบางแผ่ออก ก้านใบเล็กยาวมีรูพรุนเพื่อช่วยให้ลอยน้ำได้ดี
แหนมีขนาดเล็กมีรากกระจายออกช่วยให้ลอยในน้ำได้ดี
7.
ให้นักเรียนพิจารณาภาพพืชบกในหนังสือเรียนแล้วร่วมกันอภิปรายลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเพื่อการอยู่รอดของพืชเหล่านั้น
ดังนี้
-
ใบพลูด่าง
จัดเรียงตัวให้สามารถรับแสงได้ทั่วถึงทุกใบ ทำให้สามารถสร้างอาหารได้
เมื่อลำต้นเลื้อยไปบนต้นไม้ใหญ่
-
ตำลึง
มีมือเกาะที่เปลี่ยนแปลงมาจากใบ ช่วยให้เกาะเกี่ยวกับหลักหรือต้นไม้อื่น
ๆ
ได้ง่ายทำให้ลำต้นสามารถชูใบรับแสงได้มากขึ้น
-
กระบองเพชร
มีใบเล็กและเป็นหนามแหลมช่วยลดการคายน้ำ
มีลำต้นอวบช่วยเก็บน้ำไว้และมีรากยาวแทรกลงไปในดินได้ไกลเพื่อดูดน้ำและธาตุอาหาร
-
โกงกาง
มีรากค้ำจุนที่ยาวและแข็งแรง
อยู่รอบลำต้นเพื่อช่วยยึดลำต้นให้ตั้งอยู่บนดินเลนที่อ่อนยวบได้
8.
ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้ไปสร้างและประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องใช้ช่วยในการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามภาพในหนังสือเรียน
ดังนี้
-
ทหารสวมเสื้อผ้าที่มีสีสันกลมกลืนกับสีต้นไม้ในป่า
เพื่อการพรางตัวให้รอดพ้นจากศัตรูในการทำศึกสงคราม
-
เด็กใส่ตีนกบและสะพานเครื่องช่วยหายใจไว้ข้างหลังเพื่อช่วยให้การว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว และไม่เหน็ดเหนื่อย
-
นักศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตของนกต้องแต่งกายให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและยังต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไปด้วย
เช่น กล้องส่องทางไกล สมุดบันทึก
รองเท้าหุ้มข้อเพื่อป้องกันงูฉกหรือมดกัด
-
ในประเทศที่มีอากาศหนาวจัด
ผู้คนต้องสวมใส่เสื้อผ้าหนาทำด้วยขนสัตว์หุ้มที่คอ ข้อมือเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น
9.
นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียนหน้า 5 – 12 แล้วคัดเนื้อหา ลงสมุด
สื่อ
/
แหล่งการเรียนรู้
1.
ผักตบชวา
2.
ผักกระเฉด
3.
มีด
4.
หมึกพิมพ์
5.
แว่นขยาย
6.
ใบกิจกรรม
2 แผ่นที่ 1 – 2
7.
หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ สสวท.
การวัดผลประเมินผล
วิธีการ
|
เครื่องมือ
|
เกณฑ์การประเมิน
|
1. ตรวจผลงาน
|
ใบกิจกรรม
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
|
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
|
แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
|
3. สังเกตทักษะการทำงานกลุ่ม
|
แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
|
4 การนำเสนอผลงาน
|
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
|
5. สังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์
|
แบบประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น